โรคหัวใจ คืออะไร สาเหตุเกิดจาก

heart-disease

รู้ไหมว่าโรคหัวใจมีอยู่หลายประเภท แต่ไม่ว่าจะเป็นประเภทไหนก็ตามแต่ ทั้งหมดล้วนมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางหลอดเลือด เช่น ภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) เป็นอาการที่เกิดจากการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์บนผนังหลอดเลือดแดง (Arteries) ยิ่งปล่อยเอาไว้นานเท่าไหร่ พวกมันก็จะก่อตัวหนาขึ้นจนทำให้หลอดเลือดในร่างกายแคบลง ทำให้เลือดไหลผ่านไปได้ยาก เมื่อใดก็ตามที่เกิดลิ่มเลือดขึ้นมา สิ่งนี้ถือเป็นอันตรายถึงชีวิตเลยทีเดียว เพราะมันจะไปอุดตันเส้นเลือดจนก่อให้เกิดหัวใจวาย

อาการหัวใจวาย

อาการหัวใจวาย เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเส้นเลือดในร่างกาย ถูกปิดกลั้นเอาไว้โดยลิ่มเลือด ถ้าเกิดเป็นการอุดตันอย่างสิ้นเชิง ส่วนหนึ่งของกล้ามเนื้อหัวใจที่หลอดเลือดแดงคอยหล่อเลี้ยงให้ ก็จะเริ่มล้มเหลว ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเอาตัวรอดจากอาการหัวใจวายครั้งแรกมาได้ สามารถที่จะกลับไปใช้ชีวิตดั่งปกติเหมือนคนทั่วไป ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างที่เคยทำมาได้เหมือนเดิม แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดอาการหัวใจวายครึ่งหนึ่งแล้ว มันหมายความว่าจะต้องทำอะไรซักอย่าง ก่อนที่มันจะกลายเป็นเรื่องที่อันตรายมากกว่านี้

ยาที่ใช้รักษาโรคและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เป็นสองปัจจัยสำคัญของกระบวนการรักษา แพทย์อาจแนะนำแตกต่างกันไปตามความเสียหายรุนแรงของอาการแต่ละคน เพื่อนำไปปรับใช้กับวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพราะบางคนอาจมีความเสี่ยงที่จะมีอาการหัวใจวายสูง ในขณะที่คนบางกลุ่มเป็นแค่กลุ่มเฝ้าจับตาดู การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตก็สำคัญเช่นกัน คนที่เป็นโรคหัวใจควรจะต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง เช่น บริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อาการหัวใจล้มเหลว

เกิดขึ้นเมื่อหัวใจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ได้หมายถึงหัวใจหยุดเต้นเสมอไป ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิดกันประจำ เพราะที่จริงแล้วหัวใจยังทำงานอยู่ แต่ไม่สามารถส่งเลือดกับออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอกับความต้องการได้ อาการอาจรุนแรงมากขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา ดังนั้นหากมีคนที่รักอยู่ในกลุ่มเสี่ยง รีบแนะนำให้พาไปรักษากับหมอ และอย่าลืมทำตามที่หมอสั่งเสมอ

ภาวะลิ้นหัวรั่วและลิ้นหัวใจตีบ

เมื่อลิ้นหัวใจไม่เปิดให้เลือดไหลได้มากพอ เราเรียกว่าเป็นอาการของลิ้นหัวใจตีบ ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมาขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือการร่างกายอาจประสบกับภาวะขาดแขลนออกซิเจน ในขณะที่ลิ้นหัวใจรั่วนั้น เกิดขึ้นเมื่อลิ้นปิดไม่สนิท จนทำให้เลือดไหลผ่านเข้ามา ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอันตรายร้ายแรง และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่บางครั้งมันอาจทำให้หัวใจทำงานหนักเหมือนกับในกรณีลิ้นหัวใจตีบ ซึ่งต้องได้เข้ารับการรักษาที่เหมาะสม