รู้ทันโรคเบาหวาน

คุณรู้ไหมว่าประชากรโลกกี่ล้านคนที่เป็นโรคเบาหวาน มันถือเป็นโรคร้ายที่อยู่คู่กับเรามานานกว่าร้อยปี ในประมาณ 95% ของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโรคเบาหวานประเภท 2 ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพียง 5% เท่านั้นที่ได้รับจัดว่าเป็นประเภท 1 ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในวัยเด็กหรือผู้ใหญ่ตอนต้น บ่อยครั้งที่โรคเบาหวานประเภท 1 มีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเฉพาะเจาะจง แม้ว่าไวรัสอาจมีส่วนทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ผู้ที่เป็นโรคประเภท 2 มักจะเป็นโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้น (อายุมากกว่า 45 ปี) ในปัจจุบันนี้เริ่มมีคนอายุน้อยที่เริ่มได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับคนที่สมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ในขณะที่หลายคนกลายเป็นโรคเบาหวานเนื่องจากน้ำหนักตัวเกินหรือโรคอ้วน

ในเบาหวานทั้งสองประเภทนี้จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอยู่ในเกณที่สูงเกินมาตฐาน โดยปกติแล้วระดับน้ำตาลของเราจะเพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อได้รับประทานอาหารเข้าไป เพื่อที่จะเปลี่ยนพลังงานเหล่านี้เป็นเชื้อเพลิงให้กับร่างกายของเรา ร่างกายของเราจำเป็นต้องอาศัยฮอร์โมนที่ผลิตได้จากตับอ่อนเรียกว่า “อินซูลิน” รวมถึงฮอร์โมนที่ตัวสอง “กลูคากอน” ทำหน้าที่คอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของเราไม่ให้อยู่ในเกณที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ความเสี่ยง

Diabetes-

รู้จักกับเบาหวานประเภท 1

สำหรับคนที่เป็นเบาหวานประเภทหนึ่ง ระบบภูมิคุ้มกันของคุณซึ่งปกติจะต่อสู้กับการติดเชื้อแทนที่จะโจมตีและทำลายเซลล์อันตรายต่อร่างกาย มันกลับไปทำลายเซลในตับอ่อนที่สร้างอินซูลิน เป็นผลให้ตับอ่อนหยุดทำผลิตอินซูลิน เมื่อร่างกายปราศจากอินซูลินเพื่อใช้ในการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน ระดับน้ำตาลในเลือดจึงเพิ่มขึ้นถึงระดับอันตรายอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่วันหรือสัปดาห์ สำหรับการรักษาจึงต้องฉีดอินซูลินนี้เขาร่างกายทุกวันเพื่อรักษาระดับน้ำตาลให้คงที่ นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญอื่นยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันที่ดีขึ้นอย่างการออกกำลังกาย รวมถึงการกินอาหารอย่างระมัดระวัง

รู้จักกับเบาหวานประเภท 2

ประเภท 2 เกิดจากร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือ ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพอย่างที่ควรเป็น (เรียกว่าความต้านทานต่ออินซูลิน) โรคเบาหวานประเภทนี้อาจใช้เวลานานในการพัฒนาอาการนานเป็นปีกว่าที่ผู้ป่วยจะรู้ตัว เพราะอาการอาจไม่รุนแรงจนทำให้อาจถูกเพิกเฉยจนกว่ามันจะแสดงออกถึงปัญหาทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานเช่นการมองเห็นไม่ชัด หรือโรคหัวใจ การรักษาทั่วไปคือรับประทานยาตามที่หมอสั่ง เปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งรวมถึงอาหารสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคมน้ำหนักช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อร่างกาย สำหรับบางคนอาจมีความจำเป็นต้องฉีดอินซูลินเป็นบางครั้งเมื่อระดับน้ำตาลอยู่ในเกณที่อันตรายเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ